การทอผ้าไหมลายขิด
( Khid - Patterned silk Weavig )
ผ้าทอลายขิด เป็นผ้าพื้นเมืองของภาคอีสาน
บางส่วนของภาคเหนือและภาคกลางของไทย นับวาเป็นศิลปพื้นฐานที่สะท้อนให้เห็นภาพ
ลักษณะ ลวดลาย และวิวัฒนาการของท้องถิ่นเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ
ชาวอีสานาถือว่าในกระบวบการทอผ้าด้วยกันแล้วการทอผ้าขิดต้องอาศัยความชำนาญและมีชั้นเชิงทางฝีมือสูงกว่าการทอผ้าอย่างอื่นๆ
เพราะทอยากมาก มีเทคนิคการทอที่ซับซ้อนากว่าการทอผ้าธรรมดา
เพระต้องใช้เวลาความอดทน และความละเอียด ลออ
มีกรรมวิธีที่ยุ่งยาก ทอได้ช้า นอกจากผู้ที่มีความสนใจมีพรสวรรค์เท่านั้น
การทอผ้าไหมลายขิด คือ การทอผ้าไหมที่ทอแบบ
"เก็บขิด"
หรือ "เก็บดอก"
เหมือนผ้าที่มีการปักดอกการทอผ้าดอกนี้ชาวอuสานเรียกกันว่า
" การทอผ้าเก็บขิด" ลวดลายของขิดแต่ละลายจะมีรูปแบบที่สวยงามมีความมัน
วาว นูน และมีเหลือบ มีชื่อเรียกคล้ายกัน หรืออาจแตกต่างกันไปบ้าง
ทั้งนี้เนื่องจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ซึ่งทำให้รูปแบบและลวดลาย ของผ้าไหมลายขิด ได้พัฒนาประยุกต์ไปจากเดิม
จนเกิดลวดลายใหม่ๆขึ้น
ปัจจุบันเนื่องจากว่า การผลิตผ้าไหมลายขิด
มิใช่เป็นการผลิตเพื่อชุมชนอีกต่อไป หากแต่เป็นการผลิตเพื่อความต้องการของคนต่างถิ่น
ต่างวัฒนธรรม ซึ่งมีรสนิยมต่างกันออกไป ปริมาณความต้องการสูงขึ้น
ก่อให้เกิดการแสวงหาเทคนิควิธีการใหม่ๆ เพื่อให้การผลิตทำได้ปริมาณมากขึ้น
แต่ใช้เวลาน้อยลง ซึ่งจะมีผลกระทบต่อคุณภาพ
ของความเป็น ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น อย่างไม่ต้องสงสัย
อย่างไรก็ตาม แม้ว่ามีความเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับการทอผ้าไหมลายขิดก็ตาม
แต่การฟื้นฟูศิลปหัตถกรรมพื้นบ้านก็มาจากบุคคลภายในชุมชนเองที่พยายามแสวงหาเทคนิควิธีการ
เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของบุคคลภายนอก
เมื่อผนวกเข้ากับนโยบายการสนับสนุนวัฒนธรรมท้องถิ่นของรัฐ
ซึ่งในบางแง่มุมได้ก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในศิลปหัตถกรรมของชุมชนนั้นๆ
จึงส่งผลให้ศิลปหัตถกรรมท้องถิ่น ด้านการทอผ้าไหมลายขิด
มีชีวิตชีวาขึ้นมาใหม่ ภายใต้เงื่อนไขของสังคมและวัฒนธรรมที่เปลี่ยนแปลงไป
คนส่วนใหญ่เมื่อพูถึงการทอผ้าไหม ก็มักจะนึกถึงผ้าไหมมัดหมี่
และถ้าจะพูดถึงลวดลายของผ้า ก็มักจะนึกถึงผ้าฝ้ายลายขิด
เท่านั้น และคนส่วนใหญ่ก็มักจะคุ้นเคยกันดีกับชื่อผ้าและแหล่งผลิต
เช่น ผ้าไหมแพรวา จ.กาฬสินธุ์ ผ้าลายน้ำไหล
จังหวัดแพร่ ผ้าตีนจก จ.สุโขทัย เป็นต้น ผ้าไหมลายขิด
ไม่ค่อยมีคนรู้จักว่า คือ ผ้าไหมอะไร และมีแหล่งผลิตอยู่ที่ไหน
เนื่องจากเหตุผลดังกล่าวข้างต้น จึงเป็นเรื่องที่น่าสนใจศึกษาและอนุรักษ์ไว้
ก่อนที่จะสูญหายไปในที่สุด
|