สมัยกรุงธนบุรีและกรุงรัตนโกสินทร์
การทอผ้าและซื้อขายผ้า เนื่องจากยุคนั้นยังมีศึกสงคราม
และอยู่ในช่วงการฟื้นฟูประเทศ แต่มีหลักฐานปรากฏว่า
ทางหัวเมืองทางใต้ มีการ เกณฑ์ช่างทอผ้าจากไทรบุรี
เข้ามาสอนคนพื้นเมืองที่สงขลา และนครศรีธรรมราช
ทอผ้ายก จนมีชื่อ เสียงจนถึงปัจจุบัน
ในสมัยราชกาลที่
3 ปรากฏผ้าใช้ในราชการหลายชนิด
เช่น ผ้าเข้มขาบ ผ้าเตล็ด ผ้าเยียรมัน ผ้าสมนัก
(ผ้าสองนักหรือถมปัก) ใน ช่วง กรุงรัตนโกสินทร์นั้นปรากฏชื่อผ้าชนิดต่างๆ
ที่ประชาชนใช้ทั่วไป หลายชนิด เชื่อว่ามีคุณภาพ
สีสันลวดลาย อยู่ในเกณฑ์ด้อยกว่าตามฐานะ เช่น
ผ้าตาบัวปอก ผ้าดอกสน ดอกเทียน ผ้าตาเล็ดงา
ผ้าตามะกล่ำ ผ้าตาสมุก สมัยรัชการที่ 4 ขุนนาง
และข้าราชการสำนักสงฆ์ เสื้อแพร และเสื้อกระบอกผ้าขาว
แต่ธรรมเนียมการใช้ผ้าก็ยังมิได้เปลี่ยนแปลงมากนัก
สมัยรัชการที่ 5
มีการเปลี่ยนแปลงการใช้ผ้า และธรรมเนียมการแต่งกายของชนบางราชการ
ให้เลิกนุ่งผ้าปูม แต่ให้ใช้ผ้าม่วงสีน้ำเงินแก่แทน
มีการพระราชทานเสื้อ ให้ตามยศ ตำแหน่ง ซึ่งมักเป็นผ้าแพรสีต่าง
ๆ แบ่งตามกระทรวงกรมที่สังกัด การแต่ง กายพัฒนาไปตามแบบยุโรปมากขึ้น
สำหรับสตรีนิยมแต่งกายแบบฝรั่งเสื้อขาวแขนยาวชายเสื้อแค่เอว
ห่มแพร สไบเฉียงผ่านอกเสื้อ หรือบางทีห่มตาด
สวมถุงน่อง รองเท้าบูต เป็นต้น ในช่วงรัชการที่
4-5 นี้ ผ้าพิมพ์ลายจากอินเดียกลับมานิยมอีกครั้ง
มีการส่งผ้าที่ ออกแบบลวดลายแล้วไปให้อินเดียพิมพ์ลายเรียกว่าผ้าลายอย่าง
ต่อมาอินเดียพิมพ์ลาย ไม่เหมือนแบบที่ส่งไปเรียกว่า
ผ้าลายนอกอย่าง จากความนิยมนี้จึงมีการผลิตผ้าพิมพ์ลายขึ้นมาใช้เองในปี
2475 และเป็นต้นแบบการพิมพ์แบบสกรีน (Screen
Printing) มีการเปิดโรงงานผลิตผ้าพิมพ์ ประชาชนจึงพัฒนาการนุ่งผ้าโจงกระเบนแบบโบราณมาเป็นโจงกระเบ
นผ้าลาย และนุ่งซิ่นหรือนุ่งผ้าลายไทย ในสมัยรัชกาลที่
6 การแต่งกายในยุคหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองหรือยุควัตถุนิยม
มีการแต่งกายโดย ใช้ผ้าจากต่างประเทศมากขึ้น
แต่เป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงช่วงระยะเวลาอันสั้นเท่านั้น
รัชการที่ 8 การแต่งกายในราชสำนัก
เปลี่ยนแปลงจากการใช้ผ้าราคาสูง ที่ต้องใส่ด้าย
เส้นเงินทอง มาใช้ผ้าที่มีลักษณะเรียบง่าย
และยังนิยมใช้ผ้าไหม
รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช
รัชกาลที่ 9 แห่งราชวงศ์จักรี
ซึ่งสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงให้ความสนพระทัย
ในกิจการทอผ้าพื้นเมือง และทรง ให้การสนับสนุนส่งเสริมให้มีการทอผ้าพื้นเมืองเป็นที่สวยงาม
โดยทรงเป็นผู้นำในการใช้ผ้าพื้นเมืองฉลองพระองค์ทั้งในขณะที่ประทับ
ในประเทศ และในวโรกาส เสด็จเยือนต่างประเทศทำให้ผ้าพื้นเมืองของไทยได้มี
โอกาสอวดโฉมต่อสายตาของชาวโลก และสำหรับในประเทศก็ทำให้ความนิยมในผ้าไทย
ทั้งไหมและฝ้าย กลับฟื้นคืนชีพขึ้นมาอีก และกำลังเจริญเติบโตอย่างงดงาม
|