การย้อมสี
เส้นใยที่ได้จาก ฝ้ายจะมีสีขาว หรือ สีขาวขุ่น
หรือสีน้ำตาลอ่อน ขึ้นอยู่กับชนิดของฝ้าย
ดังนั้นเมื่อนำมาทอจึงต้องนำฝ้ายไปย้อมเพื่อให้เกิดสีที่สวยสดงดงาม
ในอดีตสีที่นำมาย้อมฝ้ายนั้นจะได้จากวัสดุธรรมชาติซึ่งสามารถหาวัตถุดิบได้ตามท้องถิ่นไม่ว่าจะ
เป็นเปลือกไม้ รากไม้ ดอก ผล หรือจากสัตว์บางชนิด
แต่เนื่องจากกรรมวิธีในการสกัดสีจากธรรมชาติค่อนข้างยุ่งยาก
และวัตถุดิบ เริ่มหายาก อีกทั้งสีสันที่ได้ไม่มีความหลากหลาย
คุณภาพในการย้อมไม่ดีนัก จึงมีการนำสีที่ได้จากระบวนการทางวิทยาศาสตร์หรือสีเคมีมาใช้ในการย้อม
ซึ่งช่วยให้สะดวก รวดเร็ว รวมทั้งยังให้สีสันต่าง
ๆ มากมาย สามารถไล่ระดับสีได้ จึงทำให้ผู้ที่ใช้กรรม
วิธีการย้อมสีธรรมชาติลดน้อยลงมากปัจจุบันสีที่นำมาย้อมเส้นใยฝ้าย
สามารถแบ่งได้เป็น สีธรรมชาติและสีวิทยาศาสตร์
สี ที่ได้จากธรรมชาติทั้งหมดได้มาจากพืช และสัตว์บางชนิด
สีที่ได้จากพืช จะนำมาจากส่วนต่าง ๆ ได้แก่เปลือก
ราก แก่น ใบ ดอก และผล ส่วนสัตว์นันได้มาจาก
ตัวครั่ง วัตถุดิบ ที่นำมาใช้ และกระบวนการในการย้อมสีธรรมชาตินั้น
แต่ละท้องถิ่นก็จะมีความแตกต่างกันสีสันที่ได้จึงแตกต่างกันไป
ขั้นตอนการย้อม
การย้อมนั้นแบ่งได้เป็น 2 ลักษณะ คือ การย้อมเย็นและการย้อมร้อน
- การย้อมเย็น
นั้นจะนิยมย้อมในหม้อดิน โดยการเตรียมน้ำสีใส่ไว้ในหม้อ
จากนั้นนำเส้นฝ้ายไปจุ่มลงในหม้อ ใช้มือคน
บีบ จนกระทั่งได้สีตามต้องการ หรือจะทำการหมักไว้เพื่อให้สีที่ได้เข้มขึ้น
- การย้อมร้อน
เป็นการนำเส้นฝ้ายไปต้มในหม้อที่ใส่น้ำสี
ใช้ไม้คนเพื่อให้ฝ้ายโดนน้ำสีอย่างทั่วถึง
เมื่อได้สีตามต้องการจึงนำไปซักและตากแห้งซึ่งการย้อมร้อนมีขั้นตอนดังนี้
1. นำเส้นฝ้ายที่จะไปทำการย้อม มาซักด้วยน้ำสะอาดเพื่อขจัดฝุ่นผงและไขต่าง
จากนั้นบีบน้ำออกให้หมาดเพื่อให้สีที่ ย้อมติดเส้นฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ
2. นำเส้นฝ้ายที่บีบหมาดแล้วลงไปต้มในหม้อน้ำสี
คนฝ้ายอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สีเข้าไปในเส้นฝ้ายอย่างทั่วถึงประมาณ
30 นาที (ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบที่นำมาย้อม)
3. เมื่อได้สีตามต้องการ นำเส้นฝ้ายขึ้นจากหม้อต้ม
บิดให้หมาด นำไปซักด้วยน้ำ สะอาด แล้วตากให้แห้ง
ถ้าต้องการให้สีเข้มขึ้นสามารถนำมาต้มอีกครั้งหนึ่งจนกว่าจะได้สีตามต้องการ
หมายเหตุ : วัตถุดิบแต่ละชนิดให้สีเหมือนกันแต่คนละโทนสี
สี
|
ชนิดของวัตถุดิบ
|
แดง
|
ตัวครั่ง, รากยอ,
เปลือกก่อ
|
แดงเลือกนก (ส้ม)
|
ผลสะตี
|
เขียว
|
เปลือกมะม่วง, เปลือกลิ้นฟ้า,
ใบหูกวาง, เปลือกสมอ, สัก
|
เหลือง
|
ขมิ้นชัน, แก่นแข,
เปลือกขนุน
|
ดำ
|
ผลมะเกลือ, ผลกระจาย
|
น้ำตาล
|
เปลือกประดู่, เครือโก่ย,
ผลหมาก
|
เทา
|
เปลือกบก, เหง้ากล้วย
|
ม่วงเทา
|
เปลือกหว้า
|
ม่วงอ่อน
|
ผลหว้า
|
คราม, น้ำเงิน, ฟ้า
|
ต้นคราม
|
|